ภูพระบาท

ภูพระบาท “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” แห่งใหม่ของประเทศไทย

ภูพระบาท เมื่อองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศให้ “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” จ.อุดรธานี เป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” แห่งใหม่ของประเทศไทย ในชื่อ ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี ซึ่งปีนี้จัดประชุมขึ้นที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้ ภูพระบาท และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรมสีมาหิน สมัยทวารวดี และเป็นการสืบทอดของวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องมากว่า 400 ปี โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสี

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เคยถูกเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2547 ต่อมาถูกถอนรายชื่อ กระทั่งปี 2559 ได้เสนอเพื่อให้มีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนอีกครั้ง และในที่สุด ปี 2567 ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

การประกาศของยูเนสโกครั้งนี้ ทำให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกลำดับที่ 8 ของประเทศไทย และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้ประกาศไปเมื่อปี 2566 และยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อปี 2535

รู้จัก “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย และแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี

ข่าวดี เมื่อองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศให้ “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” จ.อุดรธานี เป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” แห่งใหม่ของประเทศไทย ในชื่อ ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี ซึ่งปีนี้จัดประชุมขึ้นที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก ภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรมสีมาหิน สมัยทวารวดี และเป็นการสืบทอดของวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องมากว่า 400 ปี โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสี

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เคยถูกเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2547 ต่อมาถูกถอนรายชื่อ กระทั่งปี 2559 ได้เสนอเพื่อให้มีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนอีกครั้ง และในที่สุด ปี 2567 ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

การประกาศของยูเนสโกครั้งนี้ ทำให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกลำดับที่ 8 ของประเทศไทย และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้ประกาศไปเมื่อปี 2566 และยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อปี 2535

แหล่งมรดกโลก หรือ World Heritage Site เป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกจาก ยูเนสโก (UNESCO) เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ

อัปเดต 2567 ยูเนสโก ได้รับรองมรดกโลกไทยไปแล้ว 8 แห่ง เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 5 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ล่าสุดก็คือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นับเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 8 ของไทย นั้นเอง

มาทำความรู้จัก “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย แล้วไทยมีมรดกโลกที่ไหนบ้าง ไปติดตามกันเลย 

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าเขือน้ำ) ในพื้นที่บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ ทางทิศตะวันตกของ จ.อุดรธานี สภาพภูมิประเทศของภูพระบาทมีลักษณะ เป็นลานหินและเพิงหิน ที่่เกิดจากธารน้ำ แข็งละลายกัดกร่อนบนภููพระบาท ทําให้เกิดเพิงหินรูปร่างต่าง ๆ มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียส อายุประมาณ 135 ปีมาแล้ว ประกอบด้วย หินทรายสีเทาเป็นชั้นหนา เม็ดตะกอนมีขนาดปานกลางถึงหยาบและหินทรายปนกรวดชั้นหนา 

จากการสำรวจทางโบราณคดี พบว่าบน “ภูพระบาท”ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ราว 2,500-3,000 ปี จากการค้นพบภาพเขียนสีอยู่มากกว่า 54 แห่ง